ia

......ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ตั้งขึ้นเพื่อรองรับการเรียนการสอนปฏิบัติการในสาขาพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ สรีรวิทยาสัตว์ เทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปฏิบัติการวิเคราะห์ที่เน้นด้านการวิเคราะห์จีโนม การแสดงออกของยีน การผลิตตัวอ่อน การถ่ายยีนในสัตว์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โท และเอก สาขาสัตวศาสตร์ รวมทั้งทำหน้าที่รองรับงานวิเคราะห์วิจัยของคณาจารย์ในทุกสายงานของภาควิชาที่สนใจทำการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดยมีห้องทำการอยู่ที่ชั้น 4 อาคาร 8 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ โทร. 1983-4 ต่อ 181


อุปกรณ์และครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการ

Molecular biology

ชุด electrophoresis (horizontal, vertical), Thermal cycler (GeneAmp9600, i-Cycler, Corbett 96-well basic and gradient, realtime ABI), CEQ8000 DNA sequencer, Syngene Gel documentary system, refrige-Hamle centrifuge, microcentrifuge (Ependolf), Autoclave (Tomy), Digtital balance (2,3,4,5-digits), pH meter, Western blot equipments, 2-D gel electrophoresis, spectrophotometer (double beam)
ดูรายละเอียดเครื่องมือบางส่วน >> คลิ้กที่นี่

Cell culture and Embryo Technology

Inverted microscope with micromanipulator (Nikon-fluorescense, Narishike with holding and micropipette and microknife), CO2 incubator, Inverted microscope (Karlzeiss), sonicator, biohazard II laminar air flow


การรับบริการวิเคราะห์

DNA technology

  • ตรวจสอบยีนเครียดในสุกร
  • ตรวจสอบยีนการเจริญเติบโตดีและเปอร์เซ็นเนื้อแดงสูงในสุกร
  • ตรวจสอบยีนลูกดกในสุกร
  • ตรวจสอบยีนต้านทานโรคเต้านมอักเสบและต้านทานโรคไข้เห็บจากเชื้อ Anaplasma ในโคนม
  • ตรวจสอบยีนให้น้ำนมสูงในโคนม
  • ตรวจสอบยีนการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อในสัตว์ปีก*
  • ตรวจสอบโรคและการแฝงของไข้เห็บจากเชื้อ Anaplasma sp. และ Babesia sp.
  • ตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอของโคเนื้อ โคนม สุกร และสัตว์ปีก
  • ตรวจสอบการปนเปื้อนของเนื้อโค กระบือ สุกร ไก่ แกะ ในผลิตภัณฑ์
  • ตรวจสอบยีนการเจริญเติบโตและไขมันแทรกสูงในโคเนื้อ (เปิดบริการเร็วๆนี้)
  • ตรวจสอบยีนทนร้อนในโคนม (เปิดบริการเร็วๆนี้)
  • ตรวจสอบยีนพฤติกรรมก้าวร้าวในไก่พื้นเมือง (เปิดบริการเร็วๆนี้)

สถานที่ติดต่อ

  • สถานที่ติดต่อ
    ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์
    ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ถ.มิตรภาพ ต.ในเมือง
    อ.เมือง จ.ขอนแก่น
    40002 ...
  • โทรศัพท์/โืทรสาร: 043-202-362, 081-8724207 (รศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา)
  • Email: animal@kku.ac.th, monchai@kku.ac.th

ภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

การเรียนการสอนระดับปริญญาตรี

1. วิชาพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (117 451)

เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านการสกัดดีเอ็นเอเบื้องต้น การตรวจสอบดีเอ็นเอจากสัตว์ด้วยเครื่องอิเลคโตรฟอริซิส ซึ่งเป็นบทปฏิบัติการพื้นฐานสำหรับนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ทุกคน ใน ภาคการศึกษาต้น จำนวน 85 คนต่อปี โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าลองปฏิบัติจริง โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการสกัดและวิเคราะห์ดีเอ็นเออย่างแท้จริง

2. วิชาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ (117 481)

เป็นการฝึกปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีการผลิตตัวอ่อนเบื้องต้น การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อและตัวอ่อน การแช่แข็งน้ำเชื้อและตัวอ่อน ซึ่งเป็นบทปฏิบัติการในรายวิชาเลือกที่สำคัญสำหรับนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ในภาคการศึกษาต้น จำนวน 20-40 คนต่อปี โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยหมุนเวียนเข้าลองปฏิบัติจริง โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านต่างๆอย่างแท้จริง

2. วิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (127 754)

เป็นการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางในการจัดการด้านการผลิตโคเนื้อ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ของภาควิชาสัตวศาสตร์จำนวน 75 คน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่เป็นเทคนิคเฉพาะทางมากขึ้นได้แก่ ฝึกการจัดการให้อาหารโคในระยะต่างๆ ตั้งแต่โคเล็ก โครุ่น โคพ่อแม่พันธุ์ และการจัดการโคขุน การตรวจสุขภาพโคเนื้อ การฉีดยา การตรวจสัดและการผสมเทียม การถ่ายพยาธิ การตีเบอร์โค การวางแผนผังฟาร์ม การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต เป็นต้น

การเรียนการสอนระดับปริญญาโท-เอก

1. วิชาเทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (117 754)

เป็นการฝึกปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางการปรับปรุงพันธุ์ โดยเริ่มจากการสกัดดีเอ็นเอจากแหล่งที่มาต่างๆ เช่น เลือด ขน น้ำเชื้อ ตัวอ่อน น้ำจากกระเพาะหมักโค ในสัตว์ชนิดต่างๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก สุกร สัตว์น้ำ รวมถึงจุลินทรีย์ ฝึก การตรวจสอบดีเอ็นเอจากสัตว์ด้วยเครื่องอิเลคโตรฟอริซิส ฝึกการตรวจสอบยีนด้วยเทคนิคพีซีอาร์ ตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมด้วยเอ็นไซม์ตัดจำเพาะ ฝึกการสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอด้วยเทคนิคไมโครแซทเทิลไลท์ การตรวจสอบโปรตีนด้วย SDS-PAGE การตรวจสอบเพศในสัตว์ การปฏิบัติการด้วยเทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพใหม่ๆ เช่น ปฏิบัติการด้าน real time PCR, การทำ Southern blot, การวิเคราะห์ด้าน bioinformatics เป็นต้น ซึ่งเป็นบทปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ระดับปริญญาโท-เอก ที่สนใจทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทั่วไป เปิดสอนภาคการศึกษาปลาย จำนวน 12-15 คนต่อปี โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกทักษะด้านการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีชีวภาพทุกคนอย่างแท้จริง

2. วิชาเทคโนโลยีชีวภาพในการสรีรการสืบพันธุ์ (117 734)

เป็นการฝึกปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านสรีรวิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ โดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อ การเก็บไข่และตัวอ่อน การปฏิสนธินอกร่างกาย การตรวจสอบเพศจากตัวอ่อน การตรวจสอบคุณภาพน้ำเชื้อด้วยเทคนิค fluorescense การใช้ micromanipulator และการถ่ายยีนในสัตว์ เป็นต้น ซึ่ง เป็นบทปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาสาขาสัตวศาสตร์ ระดับปริญญาโท-เอก ที่สนใจทำงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางระบบสืบพันธุ์ เปิดสอนภาคการศึกษาปลาย จำนวน 5-10 คนต่อปี

การปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนด้านอื่นๆ

1. วิชาโครงงานทางการเกษตรที่นักศึกษาใช้ฝึกทดลอง

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ให้บริการด้านการศึกษาปัญหาพิเศษแก่นักศึกษาปริญญาตรี เน้นหัวข้อทางด้านการแก้ปัญหาการผลิตสัตว์ ที่ต้องอาศัยเทคนิคทางการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การตรวจสอบความเป็นพ่อแม่ลูก หรือการตรวจสอบพันธุ์ประวัติโดยใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ การตรวจสอบยีนแฝงที่เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งมีประมาณ 2-3  เรื่องต่อปี

3. การทดลองสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา : วิทยานิพนธ์/ปัญหาพิเศษ

นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 15 คน, ปริญญาเอก จำนวน 10 คน


ภารกิจด้านการวิจัย

งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ุ์

การใช้เทคนิค microsatellite เพื่อจำแนกโคพื้นเมือง กระบือปลัก ไก่พื้นเมือง ไก่ป่า สุกร แพะ แกะ และสัตว์พื้นเมืองอื่นๆ อยู่ในช่วงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และการศึกษา SNP ของบริเวณ D-loop ของไมโตคอนเดรีย ในกลุ่มโคพื้นเมืองและกระบือ นอกจากนี้ มีการศึกษาการค้นหาใช้เครื่องหมายพันธุกรรม (genetic markers) ที่เกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตสัตว์ เช่น การให้นมในโคนม การเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อในโคเนื้อ สุกรและสัตว์ปีก รวมถึงความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนม แพะแกะ และสุกร การทนต่อความเครียดเนื่องจากความร้อนในโคนมและสัตว์ปีก และการทนต่อโรคเขตร้อน เช่น โรคไข้เห็บในโคนม โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก

งานวิจัยด้านสรีรวิทยา

การศึกษาการแสดงออกของยีนในระดับโปรตีน และ mRNA ในกลุ่มโคที่เครียดเนื่องจากความร้อน ศึกษาความสัมพันธ์กับการตอบสนองทางสรีรวิทยา และความสมบูรณ์พันธุ์


ภารกิจด้านงานบริการวิชาการ

การฝึกอบรมให้แก่กลุ่มนักวิชาการ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ มีการจัดอบรมให้แก่นักวิชาการในหลายด้าน เช่น การตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมสัตว์ด้วยเทคนิค PCR การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ การสกัดดีเอ็นเอจากเลือดและเนื้อเยื่อ โดยมีการจัดอบรมอย่างน้อย 2-3 รุ่นต่อปี แต่ละรุ่นมีผู้เข้าร่วมอบรมประมาณ 10-20 คน

การสนับสนุนด้านปัจจัยการผลิต

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรมีการให้บริการด้านการให้ความอนุเคราะห์ดีเอ็นเอของสัตว์พื้นเมืองต่างๆ และ primer ที่ใช้ในการตรวจสอบ แก่หน่วยงานต่างๆทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย ที่สนใจทำงานวิจัยทางด้านพันธุกรรมสัตว์ ในเชิงความร่วมมือทางวิชาการ

การให้บริการด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ให้บริการด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบทางสัตว์หลายประเภท ได้แก่ การตรวจสอบโรคทางพันธุกรรมและโรคอื่นๆบางชนิด เช่น โรคเครียดในสุกร, โรค BLAD ในโคนม, โรคไข้เห็บที่เกิดจากเชื้อ Anaplasma sp. และ Babesia sp. ตรวจสอบเครื่องหมายพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบางชนิด เช่น ยีนที่สัมพันธ์กับการต้านทานโรคเต้านมอักเสบ ยีนที่สัมพันธ์กับการต้านทานโรคไข้เห็บ ยีนที่สัมพันธ์ให้น้ำนมในโคนม ยีนที่สัมพันธ์กับการเจริญเติบโตและคุณภาพเนื้อในโคเนื้อและสุกร เป็นต้น ห้องปฏิบัิติการรับบริการตรวจสอบการปนของเนื้อสุกร เนื้อโค เนื้อแกะ เนื้อกระบือ เนื้อไก่ ในผลิตภัณฑ์บางชนิด นอกจากนี้ยังรับบริการตรวจสอบการเป็นพ่อแม่ลูกด้วยลายพิมพ์ดีเอ็นเอ เป็นต้น


แนวทางการพัฒนา

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพมีความจำเป็นในการเพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานเพื่อใช้ในการปฏิบัติการกับการศึกษาจีโนมและการแสดงออกของยีนในระดับ RNA และโปรตีน เพื่อรองรับการเรียนการเรียนการสอนโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา เนื่องจากปัจจุบัีนมีนักศึกษาต้องการลงเรียนมากทั้งจากภายในและภายนอกคณะฯที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ และมีความจำเป็นในการเพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ชั้นสูงบางชนิืด เพื่อการวิจัยและการให้บริการตามภารกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการและเพิ่มรายได้ให้กับหน่วยงาน


แผนที่ห้องปฏิบัติการ

ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 อาคาร AG08 ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002


รายงานประจำปี

ดูรายละเอัียดภารกิจและการให้บริการจากรายงานประจำปีห้องปฏิับัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์ >> คลิ้กที่นี่


รายละเอียดการบริการด้านการเรียนการสอน

  • 2551
  • ร่วมสอนปฏิบัติการวิชา 117451 พันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ จำนวน 2 คาบ (แนะนำงานทางด้านเทคโนโลยีด้านการปรับปรุงพันธุ์ และ การสกัดดีเอ็นเอและการใช้เครื่องมือพื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพ ภาคต้น เป็นวิชาบังคับของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 85 คน/ปี ของภาควิชาสัตวศาสตร์
  • ร่วมสอนปฏิบัติการวิชา 117481 สรีรการสืบพันธุ์ในสัตว์เลี้ยง เป็นวิชาเลือกของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 10-20 คน/ปี ของภาควิชาสัตวศาสตร์
  • บริการด้านสถานที่และอุปกรณ์ครุภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์แก่นักศึกษาปัญหาพิเศษในระดับปริญญาตรและบัณฑิตศึกษา รวมถึงการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ในปีที่ผ่านมา มีหัวข้อปัญหาพิเศษและหัวข้อวิทยานิพนธ์ จำนวน 15 เรื่อง แบ่งเป็นการศึกษาด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์พื้นเมือง 4 เรื่อง การหาเครื่องหมายพันธุกรรมที่สัมพันธุ์กับการให้ผลผลิต/การต้านทานโรค/การทนร้อน/โรคทางพันธุกรรม 11 เรื่อง การศึกษาการแสดงออกของยีน 4 เรื่อง การศึกษาด้านเทคโนโลยีน้ำเชื้อและตัวอ่อน 5 เรื่อง

รายละเอียดการบริการด้านงานวิจัย

  • 2551
  • บริการด้านสถานที่และอุปกรณ์ครุภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางสัตว์แก่คณาจารย์ในการทำวิจัย โดยมีโครงการวิจัยเข้าใช้บริการประมาณ 4-6 เรื่อง/ปี
  • บริการด้านสถานที่และอุปกรณ์ครุภัณฑ์ให้กับการเรียนการสอนรายวิชาระดับปริญญาโทของสาขากีฏวิทยา สัตวแพทย์ และอื่นๆ
  • บริการกล้องจุลทรรศน์ติดกล้องถ่ายภาพ ชุดถ่ายภาพเจล ใ้ห้ความอนุเคราะห์ ไพรเมอร์จำเพาะ การใช้ gradient PCR, และอื่นๆ กับนักศึกษาที่กำลังทำงานวิจัยจากหลายสาขา และหลายคณะวิชา ได้แก่ ประมง พืชไร่ พืชสวน กีฎวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ คณะเทคโนโลยี ฯลฯ
  • ร่วมมือด้านการวิจัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ (โครงการวิจัยด้านความหลากหลายของสัตว์พื้นเมือง และด้านการหาเครื่องหมายพันธุกรรมด้านการทนร้อน การทนไข้เห็บ) กับหน่วยงานเอกชน (โครงการหายีนต้านทานโรคเต้านมอักเสบ, โครงการหายีนด้านการเจริญเติบโตและคุณภาพซาก/คุณภาพเนื้อ โครงการ PigGenome project) และหน่วยงานภายใน (การหายีนเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคเบาหวานในคน) เป็นต้น

รายละเีอียดการบริการด้านอื่นๆ

  • 2551
  • บริการวิเคราะห์ยีนเครียดและยีนด้านคุณภาพซากในสุกรให้กับหน่วยงานภายนอก ประมาณ 200 ตัวอย่าง/ปี
  • บริการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอสัตว์ปีก สุกร โคเนื้อ และโคนมให้กับหน่วยงานราชการภายนอก
  • บริการวิเคราะห์การแฝงของเชื้อไข้เห็บในเลือดโคนมให้กับหน่วยงานภายนอก จำนวน 50 ตัวอย่าง
  • บริการอบรมด้านการสกัดดีเอ็นเอจากตัวอย่างเลือด ขน และเนื้อเยื่อของสัตว์ ให้กับนักวิชาการจากกรมปศุสัตว์ 2 รุ่น